Wednesday, September 30, 2009

กรมป่าไม้ทดสอบพารามอเตอร์ในการสำรวจพะยูน

กรมป่าไม้ทดสอบพารามอเตอร์ในการสำรวจพะยูน


ระหว่างวันที่ 16-21 มีนาคม ศกนี้ โครงการรักษ์พะยูน โดยกรมป่าไม้ ได้ทำการทดลองใช้ พารามอเตอร์ที่ได้รับการบริจาคจาก บ. Nation Multimedia Group และภาคเอกชนอื่นๆ ในการสำรวจและศึกษาวิจัยพะยูนซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนหนึ่งในสิบห้าชนิดของไทย (รวมถึงกูปรีที่ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและสมันที่ได้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว) บริเวณจังหวัดตรัง พื้นที่ที่ทำการทดลองได้แก่บริเวณแหล่งพะยูนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ที่ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่และเป็นแหล่งอาศัยของนกหลายแสนตัว และแหล่งอาศัยของพะยูนที่ใหญ่ที่สุดที่เหลืออยู่ของไทย แต่เนื่องจากการใช้พารามอเตอร์เป็นแนวคิดใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครในโลกทำมาก่อน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ยังขาดความชำนาญในการใช้เครื่องที่เพิ่งได้รับมาหมาดๆ กรมป่าไม้จึงได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมกีฬาการบินแห่งประเทศไทย ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคการบิน และได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทางสมาคม โดยได้ส่งสมาชิกของสมาคมจากชมรมกีฬาการบินอินทรีอิสาน ที่มากด้วยประสบการณ์จำนวนสามท่าน บินตรงมาจากจังหวัดอุดรธานี เพื่อมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับคณะสำรวจของกรมป่าไม้อย่างใกล้ชิด


ในการทดลองได้ใช้ทั้งการศึกษาจากพารามอเตอร์แบบหนึ่งที่นั่งและสองที่นั่ง ในการนี้ชนิดหนึ่งที่นั่งมีความคล่องตัวสูงเหมาะกับการสำรวจ และศึกษาข้อมูลอย่างกว้างๆและใช้ผู้ช่วยในการทำการบินขึ้นน้อย ส่วนชนิดสองที่นั่งสามารถให้ผลการศึกษาที่ต่อเนื่องและเชื่อถือได้ดีกว่า เนื่องจากผู้บังคับเครื่องและผู้ทำการเก็บข้อมูลทำงานเฉพาะในส่วนของตน ทำให้มีสมาธิและเก็บข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง แต่การนำเครื่องขึ้นต้องมีผู้ช่วยมากเพราะเครื่องมีขนาดใหญ่ และต้องใช้ผู้มีประสบการณ์สูงเป็นผู้ขับขี่เครื่อง ผลจากการทดลองพบว่าการใช้พารามอเตอร์สำรวจและศึกษาพะยูนได้ข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ นักบินสามารถบินในเส้นทางและลักษณะวิธีการบินได้ตามที่กำหนดในวิธีการวิจัย ส่วนนักวิจัยที่ขึ้นไปกับเครื่องก็สามารถเก็บข้อมูลจากทางอากาศได้ตามต้องการ ในการทดลองครั้งนี้ได้ทดลองสำรวจพะยูนบริเวณชายฝั่งตอนใต้ของเกาะลิบงขณะน้ำเริ่มขึ้น พบพะยูนจำนวนสิบสองตัว เริ่มเข้ามาหากินในแหล่งหญ้าตามระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น และท่วมแหล่งหญ้าจนมีความลึกพอที่พะยูนจะเข้ามาหากินหญ้าได้

นอกจากจำนวนพะยูนที่พบแล้ว พารามอเตอร์ยังมีข้อดีกว่าอากาศยานทั่วไปคือมีความเร็วต่ำ ทำให้นักวิจัยมีเวลามากพอที่จะสังเกตพฤติกรรมต่างๆของพะยูนได้อย่างต่อเนื่อง ในการนี้เราพบพะยูนว่ายอยู่ท่ามกลางหมู่เรือของชาวประมงที่กำลังดำหาหอยและปลิงอย่างใกล้ชิด พะยูนส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มว่ายมาจากแหล่งพักผ่อนตามร่องน้ำปากคลองกันตัง เข้าสู่แหล่งหญ้า บางตัวก็ยังมาไม่ถึงแหล่งหญ้า แต่บางตัวก็กำลังสบายใจกับการกินหญ้าทะเล โดยเห็นได้จากตะกอนที่ฟุ้งกระจายจากการเป่าตะกอนออกจากหญ้าก่อนการกินของพะยูน บางตัวอาจจะสบายใจกับการพลิกตัวไปมาซึ่งนักวิจัยก็ยังไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมของพะยูนในเรื่องนี้นัก


ในการทดลองนี้ ยังได้มีนักวิจัยจากประเทศมาเลเซีย (Miss Leela Cassia) ผู้ซึ่งทำการศึกษาพะยูนในประเทศมาเลเซีย มาร่วมสังเกตการณ์วิธีการสำรวจของกรมป่าไม้เพื่อนำไปใช้ในมาเลเซียเป็นการทดแทนการสำรวจโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง และจากการที่ได้เห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ของไทยทำให้ Miss Leela มีความสนใจในการใช้พารามอเตอร์เป็นอย่างมาก


หลังจากการทดลองซึ่งได้ผลเป็นที่พอใจในครั้งนี้แล้ว กรมป่าไม้ มีแผนที่จะฝึกเจ้าหน้าที่ให้มีความชำนาญและปรับปรุงสถานที่ขึ้นลงพารามอเตอร์ให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจะปรับปรุงให้สามารถขึ้นลงได้ตลอดเวลาแทนการขึ้นจากชายหาดซึ่งต้องอาศัยเฉพาะเวลาที่ระดับน้ำขึ้นไม่มากนัก อีกทั้งการจัดหาวัสดุ และอะไหล่ที่เสื่อมสภาพไปจากการใช้งานอย่างหนักในขณะนี้ และในปีนี้ก็มีแผนที่จะสำรวจพะยูนที่อาจหลงเหลืออยู่ในอ่าวไทย โดยใช้ฐานข้อมูลเดิมที่กรมป่าไม้ได้สำรวจไว้แล้วจากการสัมภาษณ์ชาวประมงชายฝั่งทั่วประเทศในปีก่อนๆ และพบว่าเราอาจมีพะยูนหลงเหลืออยู่ในบริเวณจังหวัดระยอง ชุมพรและสุราษฎร์ธานี เพื่อทำการอนุรักษ์ก่อนที่จะสายเกินไป



ภาพที่ 1 นัก บินขณะกำลังนำร่มบิน ขึ้นสู่ท้องฟ้า ร่มบินไม่มีล้อ แต่ใช้การวิ่งของนักบินแทน ทำให้ขึ้น ลงได้ในพื้นที่ที่มีลักษณะขรุขระได้




















ภาพที่ 2 ลักษณะของร่มบินแบบสองที่นั่ง คนข้างหน้าทำหน้าที่เก็บข้อมูล คนข้างหลังคือนักบิน

ภาพที่ 3 ร่มบินแบบสองที่นั่งขณะบินสำรวจพะยูน เหนือแนวหญ้าทะเล
ภาพที่ 4 ปลายแหลมจูโหย เกาะลิบง จังหวัดตรัง เป็นจุดที่มีพะยูนมากที่สุดของประเทศไทย เป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง กรมป่าไม้ แนวหญ้าทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแนวสีคล้ำๆ บนหาดทรายและใต้ทะเล มองเห็นได้ชัดจากทางอากาศ (ศรชี้)
ภาพที่ 5 แม่และลูกพะยูนที่
เห็นได้จากทางอากาศกำลังว่ายเข้าสู่แนวหญ้าทะเลเพื่อหาอาหาร






















































































































































พะยูนคืออะไร


พะยูนคืออะไร


พะยูนมีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยหลายชื่อ
คือปลาหมู หมูดุด ดุหยง
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Dugong หรือ Sea Cow
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon
พะยูน คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งเช่นเดียวกันกับมนุษย์ พะยูนอาศัยอยู่ในทะเลบริเวณชายฝั่งที่น้ำมีความลึกไม่มากนัก บรรพบุรุษของพะยูนเคยอาศัยอยู่บนบกแต่เริ่มมีวิวัฒนาการลงไปอาศัยอยู่ในน้ำตั้งแต่เมื่อประมาณ 60 ล้านปีก่อน ทำให้ พะยูนมีการวิวัฒนาการรูปร่างให้เหมาะกับการอาศัยอยู่ในน้ำ คือมีรูปทรง กระสวยคล้ายโลมาแต่ อ้วนป่องกว่าเล็กน้อย ผิวหนังเรียบลื่นถึงแม้ว่า พะยูนจะมีรูปร่างภายนอกคล้ายโลมาแต่พะยูนกลับมีวิวัฒนาการ มาสายเดียวกับช้าง พะยูนกินพืชเป็นอาหารและมีเต้านมอยู่บริเวณขาหน้าเช่นเดียวกับช้างแต่โลมามีเต้านมอยู่บริเวณ ด้านท้ายและกินสัตว์เป็นอาหาร เมื่ออายุยังไม่มากพะยูนมีผิวสีเทาเมื่อโตและแก่มากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ แต่พอแก่มากขึ้นอีกจะมีรอยด่างสีขาวเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านหลังอาจเป็นปื้นขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล ขาด้านหน้ามีขนาดสั้นและเปลี่ยนรูปไปคล้ายใบพายใช้สำหรับการช่วยบังคับทิศทางหรือเอาไว้เดินขณะอยู่ที่พื้นทะเล ขาหลังลดรูปจนหายไปหมดเหลือเพียง กระดูกชิ้นเล็กๆอยู่ภายในลำตัว ส่วนท้ายเป็นครีบสองแฉกวางแนวระนาบคล้ายหางโลมาใช้โบกขึ้นลงเพื่อการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า พะยูนต้องหายใจด้วยปอดเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ รูจมูกมีสองรูตั้งอยู่บริเวณปลายด้านบน ของปากเพื่อให้ขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำได้โดยไม่ต้องโผล่ส่วนอื่น ขึ้นมาด้วยเมื่อดำน้ำจะมีแผ่นหนังมาปิดปากรูไว้เพื่อกันน้ำเข้าปากมีขนาดใหญ่มีขนแข็งๆ ขึ้นเป็นจำนวนมากมีความแข็งแรงสำหรับการขุดหรือไถไปตามพื้นทะเลเพื่อกินหญ้าทะเล เป็นอาหาร

พะยูนมีความเป็นอยู่อย่างไร
พะยูนส่วนใหญ่ชอบอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ ที่มีแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารหลักของพะยูนเป็นอาหาร พะยูนหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืนโดยเมื่อน้ำขึ้นพะยูนจะรวมกลุ่มกันเข้ามากินหญ้าทะเลที่ขึ้นเป็นแนวอยู่บริเวณน้ำตื้น จนกระทั่งน้ำเริ่มลงพะยูนก็จะกลับไปหลบอาศัยอยู่บริเวณร่องน้ำที่อยู่ใกล้เคียงและรอที่จะกลับเข้ามาเมื่อน้ำขึ้น อีกครั้งหนึ่ง
ชีวิตครอบครัวของพะยูน
ปกติ พะยูนชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่เราก็ยังไม่ทราบความสัมพันธ์กันภายในฝูงหรือครอบครัวของพะยูนมากนัก แต่พะยูนมีสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกอ่อนของมัน หลังจากพะยูนผสมพันธุ์แล้วแม่จะตั้งท้องเป็นเวลาประมาณ 13 เดือน เมื่อคลอดลูก (โดยทั่วไปครั้งละหนึ่งตัว)ออกมาแล้ว แม่พะยูนจะเลี้ยงดูลูกอ่อนต่อไปประมาณปีครึ่ง ระหว่างนี้พะยูนจะยังไม่มีลูกใหม่ไป 2-3 ปี ลูกพะยูนขนาดยาวประมาณไม่เกิน 1 เมตร จะว่ายเกาะติดบริเวณด้านข้างของแม่เกือบตลอดเวลา แต่ก็มีบ้างที่ลูกพะยูนซุกซน ว่ายห่างออกไปหรือว่ายไปบนหลังของแม่มัน เมื่อจะกินนมลูกพะยูนก็จะว่ายเข้าไปดูดจากหัวนมของแม่ที่อยู่บริเวณใต้โคน ครีบหน้า จากการสำรวจศึกษาโดยนักวิชาการของกรมป่าไม้ พบว่าบ่อยครั้งที่พะยูนแม่ อยู่ร่วมกับพะยูนขนาดใหญ่อีกตัวหนึ่งที่ว่ายตามอยู่ไม่ห่างเป็นเสมือนพ่อ หรือพี่เลี้ยงก็ยังคงเป็นปริศนาที่เราต้องทำความเข้าใจกันต่อไป
กรมป่าไม้กับพะยูน

พะยูนเคยได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติปี2535 ด้วยสถานะการณ์ใกล้สูญพันธุ์ของพะยูนทำให้พะยูนได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าสงวนหนึ่งในสิบห้าชนิดของไทย การประกาศเช่นนี้ย่อมหมายถึงทางราชการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พะยูนมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้กรมป่าไม้ ก็มิใช่ หยุดเพียงมาตราการทางกฎหมายแต่กรมป่าไม้ยังได้จัดให้มีการทำโครงการรักษ์พะยูนขึ้นในโครงการนี้มีเป้าหมายในการศึกษา และแสวงหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ในการอนุรักษ์พะยูนตลอดจนหญ้าทะเล อันเป็นอาหารหลักของพะยูนและแหล่งอาหาร รายได้ของชาวประมงชายฝั่ง

ในการศึกษาเกี่ยวกับพะยูนนี้ กรมป่าไม้ได้เริ่มการดำเนินการอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2533 จนกระทั่งปี 2534 กรมป่าไม้จึงเริ่มมีการสำรวจ จำนวนพะยูนและแหล่งที่อยู่อาศัยจากทางอากาศ ในบริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ในเดือนเมษายน 2535 พบพะยูนจำนวนสูงสุดถึง 61 ตัวในบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลจำนวนมากที่ช่วยให้เราเข้าใจในตัวพะยูนมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เราเกือบจะไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ผิดพลาดเนื่องจากการขาดการศึกษาทางวิชาการที่เหมาะสม การได้ข้อมูลใหม่ๆที่ถูกต้องนี้ทำให้กรมป่าไม้ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพะยูนมากขึ้น การศึกษานี้มีเป้าหมายในการหา

  1. จำนวนพะยูนของไทย เพื่อให้ทราบสถานะที่แท้จริงสำหรับการวางแนวทางการจัดการที่เหมาะสม
  2. แหล่งอาศัยของพะยูน การอพยพ การเคลื่อนย้ายฝูงในแต่ละช่วงวันหรือตามฤดูกาลโดยจะเริ่มบริเวณเขตจังหวัดตรัง ก่นและมีแผนงานที่จะสานต่อข้อมูลออกไปเพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป
  3. พฤติกรรมการดำรงชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในฝูง
  4. ปัจจัยที่พะยูนต้องการเพื่อการความอยู่รอดเช่น ความเค็ม ความลึกน้ำ
  5. การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปรไปอาจเนื่องมากจากมนุษย์หรือภัยธรรมชาติ
  6. ระบบนิเวศน์หญ้าทะเล ปริมาณ ความสัมพันธ์ระหว่างหญ้ากับพะยูน
  7. ชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะชาวประมงชายฝั่งที่มีความเกี่ยวข้องกับพะยูน

ทั้งนี้แนวทางการศึกษาของกรมป่าไม้จะมุ่งเน้นการศึกษาพะยูนที่มีการดำรงชีพอยู่ในธรรมชาติเป็นหลัก

พะยูนอยู่ที่ไหน
พะยูน (Dugong) เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนเท่านั้น ทั้งยังมีการกระจายอยู่เพียงในเขตแนวชายฝั่งด้าน ตะวันออกของชายฝั่งทวีปแอฟริกาเลียบชายฝั่งย่านเปอร์เซีย อินเดีย ไทย ชายฝั่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ถึงแม้ว่าการกระจายจะมีเป็นบริเวณกว้างแต่ประชากรพะยูนทั่วโลกกลับมีจำนวนลดลงจนเกือบสูญพันธุ์เนื่องจากการล่าและการทำลาย แหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูนอย่างขาดความคิดของมนุษย์ ปัจจุบันยังคงมีเพียงบริเวณชายฝั่งออสเตรเลียเท่านั้นที่มีจำนวนประชากร พะยูนหลายหมื่นตัว เนื่องจากมีจำนวนประชาชนน้อย (ชายฝั่งของทั้งทวีป) อย่างไรก็ตาม ประเทศออสเตรเลียกลับมีมาตรการการคุ้มครองพะยูนอย่างเข้มงวด มีการประกาศอนุรักษ์พื้นที่สำหรับพะยูน การดำเนินการแม้การพานักท่องเที่ยวไปชมพะยูนก็ต้องมีกฎระเบียบที่เข้มงวดและต้องมีการขออนุญาตจากรัฐบาล
สำหรับประเทศไทยเคยมีพะยูนอยู่อย่างมากมายทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน (ประมาณปี พ.ศ. 2510) แต่ก็มีจำนวนลดลงจนเหลือ อาจไม่ถึงร้อยตัวกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศอันเนื่องมาจากการล่า (ในอดีต) การเข้าไปติดในเครื่องมือประมง และการ ทำลายแหล่งหญ้าทะเลอันเป็นแหล่งอาหารทั้งของพะยูนและมนุษย์เอง (อดีต ปัจจุบัน และอนาคต) ถ้าเรายังคงปล่อยให้สถานะการณ์ ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปพะยูนของไทยเราก็คงสูญพันธุ์ไปเช่นเดียวกับสมันและสัตว์อีกหลายชนิดที่หายไปในช่วงชีวิตของเรา

จากการสำรวจของกรมป่าไม้พบว่าพะยูนยังคงมีกระจายอยู่ตามชายฝั่งของไทยทั้งอันดามันและอ่าวไทยแต่มีจำนวนน้อยและยังคง ไม่ทราบแน่ชัด เราเพียงทราบแล้วว่าเราสามารถพบพะยูนได้ตามชายฝั่งต่างๆ ทางฝั่งอันดามันพบตลอดแนวชายฝั่ง ทางอ่าวไทย ยังคงพบอยู่บ้างที่ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา แต่กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดพบที่บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 100 ตัว

พะยูนกินอะไรเป็นอาหาร
อาหารหลักของพะยูนคือหญ้าทะเล หญ้าทะเลนี้เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว คล้ายหญ้าทั่วไปที่เราพบอยู่บนบก แต่มีวิวัฒนาการลงไปเจริญอยู่ใต้น้ำทะเลในบริเวณที่ทำการศึกษาพะยูนในเขตจังหวัดตรัง เราจะพบแหล่งหญ้าทะเลผืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยหญ้าทะเลถึง 9 ชนิด ขึ้นรวมกันเป็นพื้นที่หลายสิบตารางกิโลเมตร หญ้าทะเลชนิดที่พะยูนชอบกินได้แก่หญ้าใบมะขาม (Halophila ovalis) และถึงแม้ว่าพะยูนจะกินหญ้าเป็นอาหารหลักแต่ก็มีแนวโน้มว่าพะยูนกินสัตว์ขนาดเล็กๆ ที่อยู่ตามพื้นในแนวหญ้าทะเลเช่นปลิงทะเล เป็นอาหารด้วยเช่นกัน
พะยูนมีอายุประมาณเท่าไร
พะยูนมีช่วงชีวิตใกล้เคียงกับมนุษย์ คือประมาณ 70 ปี พะยูนตัวผู้จะสืบพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 9 ปีขึ้นไป ส่วนตัวเมียจะเริ่มผสม พันธุ์ได้เมื่ออวยุมากกว่า 13 ปี
เราจะอนุรักษ์พะยูนได้อย่างไร
การ อนุรักษ์พะยูนนั้นเช่นเดียวกันกับการอนุรักษ์สัตว์หรือพรรณพืชอื่นๆ คือต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย สำหรับหน้าที่ของนักวิชาการของกรมป่าไม้ย่อมต้องมีหน้าที่ในการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในการบริหาร และจัดการระบบนิเวศของพะยูนต่อไป

สำหรับประชาชนทั่วไปก็สามารถช่วยกันอนุรักษ์พะยูนได้ด้วยการให้ความสำคัญติดตามข่าวสารการร่วมแสดงความคิดเหศนในโอกาสต่างๆ การไม่สนับสนุนการประมงที่ผิดกฎหมาย การสนับสนุนแก่ผู้ทำการศึกษาและอนุรักษ์ การไม่สร้างมลภาวะ ให้เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราก็เป็นการช่วยกันอนุรักษ์ที่สำคัญทางหนึ่งเพราะมลภาวะที่เกิดขึ้นทุกที่ ผลสุดท้ายก็มักถูกพัดพาลงไปสะสมในทะเลเหมือนกัน สำหรับกรมป่าไม้ หากต้องการทราบว่าขณะนี้เรากำลังทำอะไร โปรดดูได้ที่ การดำเนินการในปัจจุบัน

โครงการที่ร่วมดำเนินการกับต่างประเทศ (กลุ่มลุ่มน้ำ)


โครงการที่ร่วมดำเนินการกับต่างประเทศ (กลุ่มลุ่มน้ำ)
1. ชื่อโครงการ เปรียบเทียบผลผลิตของน้ำจากระบบวนเกษตรต่าง ๆ
Comparative Water Yield from Various Agroforestry Systems
2. หน่วยงานที่ร่วมมือ ศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ (International Centre for Research in Agroforestry, ICRAF)
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กลุ่มลุ่มน้ำ ส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้
4. วัตถุประสงค์
(1) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำ อัตราการไหลของน้ำ และตะกอนแขวนลอยจากวนเกษตรรูปแบบต่าง ๆ
(2) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการลุ่มน้ำขนาดเล็กบนภูเขาเขตร้อนโดยเฉพาะภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
5. ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
มกราคม 2542 - ธันวาคม 2543
6. สถานที่ดำเนินการวิจัย
ลุ่มน้ำแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
7. ความก้าวหน้าของโครงการ
ก่อสร้างเขื่อนวัดน้ำ (weir) เพื่อศึกษาปริมาณน้ำและตะกอนจากพื้นที่การใช้ประโยชน์ต่าง ๆ พร้อมติดตั้งเครื่องบันทึกระดับน้ำ เครื่องอ่านระดับน้ำ เครื่องบันทึกระดับน้ำสูงสุด เครื่องบันทึกปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์

ประเภทของป่าไม้

ประเภทของป่าไม้

ป่าไม้ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergeen forest)

เป็นระบบนิเวศน์ของป่าไม้ชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดไม่ผลัดใบคือมีใบเขียวตลอดเวลา แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

1. ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical evergreen forest)

เป็นป่าที่อยู่ในเขตลมมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดปี มีปริมาณน้ำฝนมาก แบ่งออกเป็น :

1.1 ป่าดงดิบชื้น (Tropical rain forest)

ป่าดงดิบชื้นในประเทศไทยมีการกระจายส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ อาจพบในภาคอื่นบ้าง แต่มักมีลักษณะโครงสร้างที่เป็นสังคมย่อยของสังคมป่าชนิดนี้ ป่าดงดิบชื้นขึ้นอยู่ในที่ราบรือบนภูเขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในภาคใต้พบได้ตั้งแต่ตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนถึงชายเขตแดน ส่วนทางภาคตะวันออกพบในจังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง และบางส่วนของจังหวัดชลบุรี (อุทิศ, 2541)

1.2 ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest)

ป่าดงดิบแล้งของเมืองไทยพบกระจายตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัยจากจังหวัดชุมพรขึ้นมาทางเหนือ ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย ส่วนซีกตะวันออกของประเทศปกคลุมตั้งแต่ทิวเขาภูพานต่อลงมามาถึงทิวเขาบรรทัด ทิวเขาพนมดงรักลงไปจนถึงจังหวัดระยองขึ้นไปตามทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลยและน่าน นอกจากนี้ ยังพบในจังหวัดสกลนคร และทางเหนือของจังหวัดหนองคายเลียบลำน้ำโขงในส่วนที่ติดต่อกับประเทศลาว ป่าชนิดนี้พบตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตรขึ้นไปถึง 800 เมตร (อุทิศ, 2541)
rainfrst.gif (59276 bytes)

1.3 ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest)
ป่าดงดิบเขาอาจพบได้ในทุกภาคของประเทศในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง พบตั้งแต่เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นไปจนถึงยอดเขาสูง ๆ ในภาคเหนือ เช่น ยอดดอยอินทนนท์ ดอยปุย และยอดดอยอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น ส่วนทางภาคตะวันออกพบได้บนยอดดอยภูหลวง ภูกระดึง ยอดเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นต้น (อุทิศ, 2541)

2. ป่าสน (Coniferous forest)
ป่าชนิดนี้ถือเอาลักษณะโครงสร้างของสังคมเป็นหลักในการจำแนกโดยเฉพาะองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ไม้ในสังคมและไม้เด่นนำ อาจเป็นสนสองใบหรือสนสามใบ

namnao1.jpg (26333 bytes)

papru.jpg (78814 bytes)


3. ป่าพรุหรือป่าบึง (Swamp forest)

พบตามที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่เสมอ และตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่วๆ ไป แบ่งออกเป็น

3.1 ป่าพรุ (Peat Swamp)
เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลน โดยอาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี จากรายงานของกองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2525) พื้นที่ที่เป็นพรุพบในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ นราธิวาส 283,350 ไร่ นครศรีธรรมราช 76,875 ไร่ ชุมพร 16,900 ไร่ สงขลา 5,545 ไร่ พัทลุง 2,786 ไร่ ปัตตานี 1,127 ไร่ และตราด 11,980 ไร่ ส่วนจังหวัดที่พบเล็กน้อย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรังกระบี่ สตูล ระยอง จันทบุรี เชียงใหม่ (อ.พร้าว) และจังหวัดชายทะเลอื่น ๆ รวมเป็นพื้นที่ 400,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายระบายน้ำออกเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นสวนมะพร้าว นาข้าว และบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา คงเหลือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น คือ พรุโต๊ะแดง ซึ่งยังคงเป็นป่าพรุสมบูรณ์ และพรุบาเจาะ ซึ่งเป็นพรุเสื่อมสภาพแล้ว (ธวัชชัย และชวลิต, 2528)
3.2 ป่าชายเลน (Mangrove swamp forest)

เป็นสังคมป่าไม้บริเวณชายฝQั่งทะเลในจังหวัดทางภาคใต้ กลาง และภาคตะวันออก และมีน้ำขึ้น-น้ำลงอย่างเด่นชัดในรอบวัน

4. ป่าชายหาด (Beach forest)
แพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด ทราย และโขดหิน ดินมีฤทธิ์เป็นด่าง

ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)
เป็นระบบนิเวศน์ป่าชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้ง เพื่อจะแตกใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ยกเว้นพืชชั้นล่างจะไม่ผลัดใบ จะพบป่าชนิดนี้ตั้งแต่ระดับความสูง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ป่าเบญจพรรณ
ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พื้นที่ป่าไม้ไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ที่เป็นที่ราบ หรือตามเนินเขา พันธุ์ไม้จะผลัดใบในฤดูแล้ง การกระจายของป่าเบญจพรรณในประเทศไทย พบในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน ครอบคลุมต่ำลงไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนบน มีปรากฏที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 800 เมตร หรือสุงกว่านี้ในบางจุด

2. ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง

พบขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ยาง ฤดูแล้งจะผลัดใบ และมีไฟป่าเป็นประจำ ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้างๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าเบญจพรรณ แต่อาจแคบกว่าเล็กน้อยทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง มีปรากฏตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปจนถึงเหนือสุดในจังหวัดเชียงราย ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ปรากฏสลับกันไปกับป่าเบญจพรรณ ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งจัด กักก็บน้ำได้เลว เช่น บนสันเนิน พื้นที่ราบที่เป็นทรายจัด หรือบนดินลูกรังที่มีชั้นของลูกรังตื้น ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1,000 เมตร

teng.jpg (459497 bytes)
3. ป่าหญ้า
เกิดจากการทำลายสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ดินมีความเสื่อมโทรม มีฤทธิ์เป็นกรด ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงมีหญ้าต่างๆ เข้าไปแทนที่ แพร่กระจายทั่วประเทศในบริเวณที่ป่าถูกทำลายและเกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปี

ทรัพยากรป่าไม้

ทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้
ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย จะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้ทำนาไม่ได้ผลขาดน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า

ประเภทของป่าไม้ในประเทศไทย


ประเภทของป่าไม้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกระจายของฝน ระยะเวลาที่ฝนตกรวมทั้งปริมาณน้ำฝนทำให้ป่าแต่ละแห่งมีความชุ่มชื้นต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ก. ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)
ข. ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Deciduous)

ป่าประเภทที่ไม่ผลัดใบ (Evergreen)

ป่าประเภทนี้มองดูเขียวชอุ่มตลอดปี เนื่องจากต้นไม้แทบทั้งหมดที่ขึ้นอยู่เป็นประเภทที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญซึ่งจัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่

1. ป่าดงดิบ (Tropical Evergreen Forest or Rain Forest)

ป่าดงดิบที่มีอยู่ทั่วในทุกภาคของประเทศ แต่ที่มีมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ในบริเวณนี้มีฝนตกมากและมีความชื้นมากในท้องที่ภาคอื่น ป่าดงดิบมักกระจายอยู่บริเวณที่มีความชุ่มชื้นมาก ๆ เช่น ตามหุบเขาริมแม่น้ำลำธาร ห้วย แหล่งน้ำ และบนภูเขา ซึ่งสามารถแยกออกเป็นป่าดงดิบชนิดต่าง ๆ ดังนี้

1.1 ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)
เป็นป่ารกทึบมองดูเขียวชอุ่มตลอดปีมีพันธุ์ไม้หลายร้อยชนิดขึ้นเบียดเสียดกันอยู่มักจะพบกระจัดกระจายตั้งแต่ความสูง 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้ที่สำคัญก็คือ ไม้ตระกูลยางต่าง ๆ เช่น ยางนา ยางเสียน ส่วนไม้ชั้นรอง คือ พวกไม้กอ เช่น กอน้ำ กอเดือย

1.2 ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)
เป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย เช่น ในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พยอม ตะเคียนแดง กระเบากลัก และตาเสือ
1.3 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
ป่าชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นที่สูง ๆ หรือบนภูเขาตั้งแต่ 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล ไม้ส่วนมากเป็นพวก Gymonosperm ได้แก่ พวกไม้ขุนและสนสามพันปี นอกจากนี้ยังมีไม้ตระกูลกอขึ้นอยู่ พวกไม้ชั้นที่สองรองลงมาได้แก่ เป้ง สะเดาช้าง และขมิ้นต้น
2. ป่าสนเขา (Pine Forest)
สวนปาล์ม ป่าสนเขามักปรากฎอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงประมาณ 200-1800 เมตร ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางทีอาจปรากฎในพื้นที่สูง 200-300 เมตร จากระดับน้ำทะเลในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ป่าสนเขามีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ ส่วนไม้ชนิดอื่นที่ขึ้นอยู่ด้วยได้แก่พันธุ์ไม้ป่าดิบเขา เช่น กอชนิดต่าง ๆ หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น

3. ป่าชายเลน (Mangrove Forest)
บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม" หรือป่าเลน มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชนิดนี้ปรากฎอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงในพื้นที่ภาคใต้มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ตามชายทะเลภาคตะวันออกมีอยู่ทุกจังหวัดแต่ที่มากที่สุดคือ บริเวณปากน้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน แสมทะเล ลำพูนและลำแพน ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ ปอทะเล และเป้ง เป็นต้น

4. ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Swamp Forest)
ป่าชนิดนี้มักปรากฎในบริเวณที่มีน้ำจืดท่วมมาก ๆ ดินระบายน้ำไม่ดีป่าพรุในภาคกลาง มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เช่น ครอเทียน สนุ่น จิก โมกบ้าน หวายน้ำ หวายโปร่ง ระกำ อ้อ และแขม ในภาคใต้ป่าพรุมีขึ้นอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีดินป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดอยู่ในบริเวณจังหวัดนราธิวาสดินเป็นพีท ซึ่งเป็นซากพืชผุสลายทับถมกัน เป็นเวลานานป่าพรุแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณซึ่งเป็นพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเลต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นพื้นที่มีต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก "ป่าพรุเสม็ด หรือ ป่าเสม็ด" อีกลักษณะเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มากชนิดขึ้นปะปนกัน

ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ กระทุ่มน้ำภันเกรา โงงงันกะทั่งหัน ไม้พื้นล่างประกอบด้วย หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ
เห็ดกระโปรงนางฟ้า
5. ป่าชายหาด (Beach Forest)
เป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายทะเล น้ำไม่ท่วมตามฝั่งดินและชายเขาริมทะเล ต้นไม้สำคัญที่ขึ้นอยู่ตามหาดชายทะเล ต้องเป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอ ใบหนาแข็ง ได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพธิ์ทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล หยีน้ำ มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง ตามฝั่งดินและชายเขา มักพบไม้เกตลำบิด มะคาแต้ กระบองเพชร เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ เช่น ซิงซี่ หนามหัน กำจาย มะดันขอ เป็นต้น

ป่าประเภทที่ผลัดใบ (Declduous)

ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้เป็นจำพวกผลัดใบแทบทั้งสิ้น ในฤดูฝนป่าประเภทนี้จะมองดูเขียวชอุ่มพอถึงฤดูแล้งต้นไม้ ส่วนใหญ่จะพากันผลัดใบทำให้ป่ามองดูโปร่งขึ้น และมักจะเกิดไฟป่าเผาไหม้ใบไม้และต้นไม้เล็ก ๆ ป่าชนิดสำคัญซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่

1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest)

ป่าผลัดใบผสม หรือป่าเบญจพรรณมีลักษณะเป็นป่าโปร่งและยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไปพื้นที่ดินมักเป็นดินร่วนปนทราย ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือมักจะมีไม้สักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปครอบคลุมลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ในภาคกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก มีป่าเบญจพรรณน้อยมากและกระจัดกระจาย พันธุ์ไม้ชนิดสำคัญได้แก่ สัก ประดู่แดง มะค่าโมง ตะแบก เสลา อ้อยช้าง ส้าน ยม หอม ยมหิน มะเกลือ สมพง เก็ดดำ เก็ดแดง ฯลฯ นอกจากนี้มีไม้ไผ่ที่สำคัญ เช่น ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร เป็นต้น


2. ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)
หรือที่เรียกกันว่าป่าแดง ป่าแพะ ป่าโคก ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ตามพื้นป่ามักจะมีโจด ต้นแปรง และหญ้าเพ็ก พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย หรือกรวด ลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและที่ภูเขา ในภาคเหนือส่วนมากขึ้นอยู่บนเขาที่มีดินตื้นและแห้งแล้งมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีป่าแดงหรือป่าเต็งรังนี้มากที่สุด ตามเนินเขาหรือที่ราบดินทรายชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง กราด พะยอม ติ้ว แต้ว มะค่าแต ประดู่ แดง สมอไทย ตะแบก เลือดแสลงใจ รกฟ้า ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเพ็ก โจด ปรงและหญ้าชนิดอื่น ๆ

3. ป่าหญ้า (Savannas Forest)

ป่าหญ้าที่อยู่ทุกภาคบริเวณป่าที่ถูกแผ้วถางทำลายบริเวณพื้นดินที่ขาดความสมบูรณ์และถูกทอดทิ้ง หญ้าชนิดต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นทดแทนและพอถึงหน้าแล้งก็เกิดไฟไหม้ทำให้ต้นไม้บริเวณข้างเคียงล้มตาย พื้นที่ป่าหญ้าจึงขยายมากขึ้นทุกปี พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้าก็คือ หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็กและปุ่มแป้ง บริเวณที่พอจะมีความชื้นอยู่บ้าง และการระบายน้ำได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่ และอาจพบต้นไม้ทนไฟขึ้นอยู่ เช่น ตับเต่า รกฟ้าตานเหลือง ติ้วและแต้ว

รูปนก
ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้มีประโยชน์มากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่.

ประโยชน์ทางตรง (Direct Benefits)

ได้แก่ ปัจจัย 4 ประการ
1. จากการนำไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือนและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ กระดาษ ไม้ขีดไฟ ฟืน เป็นต้น
2. ใช้เป็นอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของพืชและผล
3. ใช้เส้นใย ที่ได้จากเปลือกไม้และเถาวัลย์มาถักทอ เป็นเครื่องนุ่งห่ม เชือกและอื่น ๆ
4. ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ

ประโยชน์ทางอ้อม (Indirect Benefits)

1. ป่าไม้เป็นเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพราะต้นไม้จำนวนมากในป่าจะทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาค่อย ๆ ซึมซับลงในดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินซึ่งจะไหลซึมมาหล่อเลี้ยงให้แม่น้ำ ลำธารมีน้ำไหลอยู่ตลอดปี
2. ป่าไม้ทำให้เกิดความชุ่มชื้นและควบคุมสภาวะอากาศ ไอน้ำซึ่งเกิดจากการหายใจของพืช ซึ่งเกิดขึ้นอยู่มากมายในป่าทำให้อากาศเหนือป่ามีความชื้นสูงเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไอน้ำเหล่านั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมา ทำให้บริเวณที่มีพื้นป่าไม้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไม่เกิดความแห้งแล้ง
3. ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนและศึกษาความรู้ บริเวณป่าไม้จะมีภูมิประเทศที่สวยงามจากธรรมชาติรวมทั้งสัตว์ป่าจึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้ดี นอกจากนั้นป่าไม้ยังเป็นที่รวมของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์จำนวนมาก จึงเป็นแหล่งให้มนุษย์ได้ศึกษาหาความรู้
4. ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมพายุและป้องกันอุทกภัย โดยช่วยลดความเร็วของลมพายุที่พัดผ่านได้ตั้งแต่ ๑๑-๔๔ % ตามลักษณะของป่าไม้แต่ละชนิด จึงช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากวาตภัยได้ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมน้ำตามแม่น้ำไม่ให้สูงขึ้นมารวดเร็วล้นฝั่งกลายเป็นอุทกภัย
5. ป่าไม้ช่วยป้องกันการกัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จากน้ำฝนและลมพายุโดยลดแรงปะทะลงการหลุดเลือนของดินจึงเกิดขึ้นน้อย และยังเป็นการช่วยให้แม่น้ำลำธารต่าง ๆ ไม่ตื้นเขินอีกด้วย นอกจากนี้ป่าไม้จะเป็นเสมือนเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติ จึงนับว่ามีประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ด้วยเช่นกัน

สาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย


รูปท่อนไม้
1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
ตัวการของปัญหานี้คือนายทุนพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ ผู้รับสัมปทานทำไม้และชาวบ้านทั่วไป ซึ่งการตัดไม้เพื่อเอาประโยชน์จากเนื้อไม้ทั้งวิธีที่ถูกและผิดกฎหมาย ปริมาณป่าไม้ที่ถูกทำลายนี้นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเพิ่มของจำนวนประชากร ยิ่งมีประชากรเพิ่มขึ้นเท่าใด ความต้องการในการใช้ไม้ก็เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ไม้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรกรรมเครื่องเรือนและถ่านในการหุงต้ม เป็นต้น

2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน
เมื่อประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินก็อยู่สูงขึ้น เป็นผลผลักดันให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ แผ้วถางป่า หรือเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย นอกจากนี้ยังมีนายทุนที่ดินที่จ้างวานให้ราษฎรเข้าไปทำลายป่าเพื่อจับจองที่ดินไว้ขายต่อไป

3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก
เช่น มันสำปะหลัง ปอ เป็นต้น โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเกษตร

4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่
ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลาและมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน

5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ
เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่อนรัชชประภาเพื่อกั้นคลองพระแสงอันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่นประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง

6. ไฟไหม้ป่า
มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้งและร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมะม่วงที่อาจลักลอบเผาป่าหรือเผลอ จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้เป็นจำนวนมาก

7. การทำเหมืองแร่
แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ ส่งผลถึงการทำลายป่า

การอนุรักษ์ป่าไม้

ป่าไม้ถูกทำลายไปจำนวนมาก จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลกรวมทั้งความสมดุลในแง่อื่นด้วย ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพป่าไม้จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายด้านการจัดการป่าไม้ ดังนี้
1. นโยบายด้านการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
2. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เกี่ยวกับงานป้องกันรักษาป่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสันทนาการ
3. นโยบายด้านการจัดการที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่น
4. นโยบายด้านการพัฒนาป่าไม้ เช่น การทำไม้และการเก็บหาของป่า การปลูก และการบำรุงป่าไม้ การค้นคว้าวิจัย และด้านการอุตสาหกรรม
5. นโยบายการบริหารทั่วไปจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นเป็นแนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติให้ได้รับผลประโยชน์ ทั้งทางด้านการอนุรักษ์และด้านเศรษฐกิจอย่างผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติและมีทรัพยากรป่าไม้ไว้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ภาพการพักแรมด้วยเต็น

การจัดการป่าเศรษฐกิจ

มีกิจกรรมหลายอย่างที่จะดำเนินการในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ได้แก่

1. การพัฒนาป่าธรรมชาติในพื้นที่ ๆ ยังมีป่าธรรมชาติปกคลุมสามารถวางโครงการทำป่าไม้ต่าง ๆ และป่าไม้ชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและการใช้สอยในครัวเรือนของราษฎรได้
2. การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ ๆ ว่างเปล่าสามารถพัฒนาโดยให้รัฐและเอกชนทำการปลูกป่าในพื้นที่ ๆ ว่างเปล่า เพื่อผลิตไม้ในภาคอุตสาหกรรมและใช้สอยในครัวเรือน
3. การพัฒนาตามหลักศาสตร์ชุมชนใช้พื้นที่ป่าเศรษฐกิจในโครงการพระราชดำริโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงโครงการหมู่บ้านป่าไม้และโครงการ สกท.
4. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ใช้พื้นที่เขตป่าเศรษฐกิจดำเนินงานในกิจกรรมเหมืองแร่ระเบิดหินย่อย และขอใช้ประโยชน์อื่น ๆ


ที่มา : รวบรวมจาก การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Tuesday, September 29, 2009

16 មនុស្សប្រុស គួរអោយស្រលាញ់ត្រង់កន្លែងណា?

មនុស្សស្រីគួរអោយស្រលាញ់ ត្រង់ណាខ្លះ? ទុកអោយប្រុសៗឆ្លើយចុះ។ តែថា មនុស្សប្រុស គួរអោយស្រលាញ់ ត្រង់កន្លែងណានោះ កូនជ្រូកប្រាប់បន្តិចចុះ គឺ ៖ - ជាមនុស្សចិត្តល្អ - ជាមនុស្សឯករាជ្យ - ជាមនុស្សម៉ឺងម៉ាត់ - ជាមនុស្សទទួលខុសត្រូវខ្ពស់ - ជាមនុស្សមានគំនិតចង់ដើរទៅមុខ - ជាមនុស្សចេះលេងសើចតាមស្ថានការណ៍ ។ល។ និង ។ល។ មនុស្សប្រុសបែបនេះ បើស្រីៗឃើញ ច្បាស់ជាលាន់មាត់ថា He’s cool. ចាំរកនឹកឃើញ ចាំដាក់បន្ថែម អាលូវ ប្រុយសិន ព្រោះឡាវល់តិច។ ហេហេហេ

នារី គួរអោយស្រលាញ់ត្រង់ណាដែរ?

ហ៊ើយ មនុស្សស្រីមិនមែនកើតមកស្អាតទាំងអស់គ្នាទេ។ មើល៍តែកូនជ្រូកចុះ រូបរាងកន្ធីងកន្ធាត់ មាឌក៏កន្តេញកន្តុញ មិនមានកន្លែងណាស្អាតម៉ាតិចទេ គឺយ៉ាប់ម៉ាចប់។ តែហេងវិន ធ្លាប់ទទួលបានការសរសើរមួយ គឺមុខជំនាញ ញញឹមគួរអោយស្រលាញ់។ មិនចង់អួតទេ តែបងប្អូនមើលមើល៍បើ កូនជ្រូក ញញឹមស្អាតម្លឹងៗ មិនអោយគេសរសើរយ៉ាងម៉េច។ ហាហាហា ការពិត ពេលខ្លះ ប្រសិនបើយើងកើតមក មិនបានយកសំរស់មកជាប់នឹងខ្លួនទៅហើយ ធ្វើមុខក្រមូវទៀត ច្បាស់ជាគ្មាននរណាគេហ៊ាននៅជិតនោះទេ។ អាចឹង បងប្អូននារីកុំទាន់អាលអស់សង្ឃឹមអី។ មុខមិនស្អាត ក៏បានញញឹមយោង ហើយក្លាយជានារីគួរអោយស្រលាញ់ម្នាក់ដែរ។ ហេហេហេ